Earth Tester คือ เครื่องตรวจสอบความต้านทานของดิน เพื่อวัดค่าความต้านทาน เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูดในระหว่างทำงาน เครื่อง Earth Tester นำมาเพื่อวัดกราวน์หรือวงจรต่าง ๆ ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด หากมีการวัดค่าความต้านทานของระบบกราวน์ได้ผลออกมาไม่ได้มาตรฐาน อาจจะส่งผลให้เวลาเกิดไฟฟ้ารั่วไหลหรือส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านไปตามสายดินได้ อาจจะก่อให้เกิดคลื่นสัญญาณออกไปรบกวน ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาขึ้นได้ กระเเสไฟฟ้าอาจจะวิ่งลงสู่ร่างกายทำให้เกิดอัตรายจากไฟฟ้าช๊อต หรือกระเเสไฟฟ้ารั่วไหลเหล่านั้นไหลลงสู่อุปกรณ์เครื่องใช้ ทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้ ระบบลงกราวด์ของระบบไฟฟ้า เป็นข้อกำหนดทางวิศวกรรมไฟฟ้าที่มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือฟ้าผ่า ซึ่งอาจเกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า รวมถึงผู้ใช้งานเอง การมีระบบกราวน์ที่ดีนอกจากจะช่วยป้องกันอันตรายแล้วยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ในแต่ละปีอาจเกิดความเสียหายเกิดขึ้นไม่น้อย สาเหตุหลัก มาจากเพลิงไหม้ที่มีสาเหตุมาจากระบบไฟที่ไม่ได้ทำการซ่อมบำรุง NEC (National Electrical Code ) ได้ให้คำนิยามของกราวน์ไว้ว่า “การเชื่อมต่อที่นำไฟฟ้าทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจระหว่างวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้ากับพื้นดินหรือกับตัวนำไฟฟ้าบางอย่างที่ช้แทนพื้นดิน” อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าทุกชนิดจำเป็นต้องมีการลงกราวน์ เนื่องจากเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส กระแสที่รั่วไหลจะวิ่งไปหาจุดที่มีความต้านทานต่ำที่สุด หากไม่มีการลงกราวน์จะทำให้กระแ สลัดวงจร และหากเราไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่มีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าจะทำให้ถูกไฟช็อต ตามข้อกำหนดทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ค่าความต้านทานดิน 5 โอห์ม คือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ยอมให้มีค่าความต้านทานดิน ไม่เกิน 25 โอห์ม (เป็นค่าที่กำหนดในมาตรฐาน NEC ของสหรัฐอเมริกา) การวัดและทดสอบค่าความต้านทานดินอ่านเพิ่มเติม
Category Archives: บทความ
แคล้มป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ โดยไม่ต้องดับไฟหรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ในการวัดกระแสไฟฟ้านั้น หากเราใช้เครื่องมือชนิดอื่น เช่น มัลติมิเตอร์แล้ว เมื่อจะวัดกระแสไฟฟ้า ก็จะต้องหยุดการทำงาน ของอุปกรณ์ทั้งในขณะก่อนและหลังจากการวัดค่าเสร็จ เพื่อต่อสายไฟและมิเตอร์เข้ากับอุปรกรณ์ที่วัดค่า แต่หากเราใช้แคล้มป์มิเตอร์ในการวัดค่า เราจะวัดได้ง่ายเพียงแต่คล้องมิเตอร์เข้ากับสายไฟเพียงเส้นเดี่ยว ก็สามารถวัดค่าได้แล้ว วีธีได้เปรียบตรงที่วัดค่ากระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลในวงจรได้โดยไม่ต้องหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะทดสอบ เมื่อควานผิดเพี้ยนของสัญญาณไม่มีผลกระทบต่อกระแสไฟที่โหลด แคล้มป์มิเตอร์ทั้งแบบค่าเฉลี่ย (Average) และแบบค่าจริง (True RMS) จะวัดค่าได้ใกล้เคียงกันมาก คือ ประมาณ 10A โดยมีรูปคลื่น คงตัวดังตัวอย่างข้างบน อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสไฟทีโหลดได้รับผล กระทบจากความผิดเพี้ยนของสัญญาณบางอย่าง เช่น อุปกรณ์ ประเภทอินเวอร์เตอร์ ฯลฯ แคล้มป์มิเตอร์แบบค่าเฉลี่ยจะอ่านค่าได้ 5.5A แทนที่จะเป็น 9.7A และแคล้มป์มิเตอร์แบบค่าจริงจะอ่านได้ 7.9 A แทนที่จะเป็น 9.7A โดยมีรูปคลื่นไม่สม่ำสเมอ เครื่องมือวัดแบบค่าจริงจึงเหมาะสำหรับวัดอุปกรณ์ประเภทอินเวอร์เตอร์ (Inverter Control) เนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์ประเกทไทริสเตอร์ (Thynstor) อินเวอร์เตอร์(Inverter) และอุปกรณ์ประหยัดพลังงานอื่นๆ ในระบบไฟฟ้ารูปคลื่นอ่านเพิ่มเติม
มัลติมิเตอร์ ชื่อภาษาอังกฤษ Multimeterคือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์วัดค่าต่างๆของไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้ได้ทั้งกับไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity : AC) ที่มาของ มัลติมิเตอร์ คือเมื่อก่อนวิศวกรจะวัดค่าต่างๆของไฟฟ้าในแต่ละทีต้องมีการพกเครื่องวัดไฟฟ้าหลายๆแบบ เช่น โวลท์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ ในการวัดเพื่อให้ได้ค่าที่ต้องการ แต่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วจึงมีการคิดค้นเครื่องมือที่สามารถวัดค่าต่างๆของไฟฟ้าได้ในครั้งเดียว คือ มิลติมิเตอร์นั่นเอง ปัจจุบันมัลติมิเตอร์หลักๆมีทั้งหมด 2 แบบได้แก่ มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก สามารถวัดแรงดันไฟฟ้า DC แรงดันไฟฟ้า AC กระแสไฟฟ้า DC ค่าความต้านทาน รวมทั้งเสียงสัญญาณเตือน ความต่อเนือง วัดอัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ (hFE) อุณหภูมิ ซึ่งสามารถวัดได้โดยใช้โพรบวัดอุณหภูมิ (อุปกรณ์เสริม) ข้อดีของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม • ราคาถูก แต่บางรุ่นที่มีความละเอียดมากๆก็จะแพงหน่อย • มีปัญหาเกี่ยวกับความชื้นที่น้อยกว่า • ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน • กรณีที่เข็มชี้ในตำแหน่งระหว่างอ่านเพิ่มเติม
Insulation Testerคือ เครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต้านทานไฟฟ้าชนิดพิเศษสามารถใช้วัดความต้านทานที่มีค่าสูงมากเป็นเมกะโอห์ม (Mega Ohm) ได้ซึ่งค่าความต้านทานนี้เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นฉนวนไฟฟ้า หรือเป็นเครื่องชี้วัดการรั่วลงดิน (ground) ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า เราจำเป็นต้องวัดความเป็นฉนวน ขั้วต่อที่มีไฟฟ้าไหลอยู่ทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องหุ้มด้วยฉนวนซึ่งต้องมีความต้านทานฉนวนสูงๆ(สูงมากกว่าที่มาตรฐานระบุ) เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรหรือการเกิดไฟดูดเนื่องจากสัมผัสไฟฟ้าโดยไม่ได้ตั้งใจ ฉนวนไฟฟ้าที่เราเจอบ่อยๆก็คือ ฉนวนของสายไฟฉนวนบนปลั๊กไฟ จะเห็นได้ว่า เมื่อเราจับปลั๊กไฟไปเสียบบนเต้าไฟฟ้า ไฟฟ้าจะช็อตเราได้ ถ้าหากเต้ารับ ปลั๊กไฟ และสายไฟนั่นมีค่าฉนวนเสื่อม ฉนวนต่างๆเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่นละออง อุณหภูมิ ความชื้น การสั่นสะเทือน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์และส่งผลให้ค่าความต้านทานฉนวนลดลง ดังนั้นเราควรมีการตรวจสอบค่าความต้านทานฉนวนเพื่อเช็คสภาพความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ด้วยเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า (Insulation Tester) อยู่ตลอด มาตรฐานสากลด้านการติดตั้งไฟทำในอาคาร IEC 60364 ได้เสนอเนื้อหาเฉพาะในหัวข้อ “การทวนสอบ” ซึ่งสามารถค้นหาได้ในส่วนที่ 6 ในหัวข้อดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขของค่าต่ำสุดสำหรับความด้านทานฉนวนซึ่งทดสอบด้วยแรงดันทดสอบเฉพาะโดยไม่มีอุปกรณ์ใดๆ เชื่อมต่อเข้ากับวงจร แรงดันของวงจรที่กำหนด แรงดันทดสอบในกระแสตรงที่ใช้เครื่องทดสอบความเป็นฉนวน ค่าความต้านทานความเป็นฉนวน SEL,PELV≤ (<50V กระแสสลับ ≤ 120V (กระแสตรง) 250V ≥ 0.5MΩ ไม่เกินอ่านเพิ่มเติม